ความงดงามแบบดั้งเดิมในชีวิตประจำวัน

เครื่องเขินคิชู

เกี่ยวกับเครื่องเขินคิชู

ประวัติความเป็นมาของเครื่องเขินคิชู

ความงดงามแบบดั้งเดิมในชีวิตประจำวัน

เครื่องเขินคิชูซึ่งถือกำเนิดขึ้นในเมืองคุโรเอะที่เก่าแก่ ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อใด และได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ค้นหาเรื่องราวความเป็นมานั้นไปกับเรา

เครื่องเขินคิชูได้ถูกผลิตขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ “เขตคุโรเอะ” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองนันไกในจังหวัดวากายามะ ถือเป็นหนึ่งในสามเครื่องเขินชื่อดังที่สุดในญี่ปุ่นร่วมกับไอซุนูริ (จังหวัดฟูกูชิมะ), ยามานากะนูริและวาจิมะนูริ (จังหวัดอิชิกาวะ)

ว่ากันว่าประวัติความเป็นมาของเครื่องเขินคิชูได้เริ่มขึ้นจากการที่ช่างแปรรูปไม้ในคิชูนำลูกพลับที่บดเป็นน้ำมาทาบนถ้วยชามในสมัยมูโรมาจิ ประกอบกับที่วัดเนโกโระจิซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองอิวาเดะ เหล่านักบวชได้ทำภาชนะ เช่น ถาดวางอาหาร ถ้วย ชาม และตู้พระธรรม ขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งของเครื่องเขินคิชูเช่นเดียวกัน

เครื่องเขินทั้งหมดที่เริ่มต้นจากวัดเนโกโระจิจะมีชื่อเรียกว่า “เนโกโระนูริ” เนื่องจากงานเคลือบทารองพื้นด้วยแลคเกอร์ (ยางรักญี่ปุ่น) สีดำแล้วเคลือบทาทับด้วยแลคเกอร์สีแดงเป็นงานที่ทำโดยนักบวชซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญในการเคลือบทา ทำให้ในระหว่างที่ใช้งานแลคเกอร์สีแดงที่อยู่ชั้นนอกได้สึกลอกออกไปตามธรรมชาติจนเห็นพื้นล่างที่ทาด้วยแลคเกอร์สีดำเป็นจุดๆ แต่สิ่งนั้นกลับดูมีเสน่ห์จนทำให้ผู้คนชื่นชอบ

หลังจากนั้น ในตอนที่โทโยโตมิ ฮิเดโยชิได้ยกทัพมาตีเนโกโระ นักบวชที่รอดชีวิตมาได้ ได้นำเทคนิคและวิธีการนั้นไปใช้ในการผลิตเครื่องเขินที่เมืองนันไกจนแพร่หลายออกไป ว่ากันว่าในช่วงกลางยุคของโทกูงาวะค่อนข้างจะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายภายใต้การคุ้มครองของแคว้นคิชู

ในปีบุนเซที่ 9 (ปี 1826) ช่างฝีมือที่ชื่อว่า โอกาวายะโชเบเอะ ได้ผลิตเครื่องเขินที่ทำจากแผ่นไม้และมีพื้นผิวแข็งแกร่งขึ้นมาได้สำเร็จ ในสมัยอันเซจึงมีการตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการทำลวดลายลงบนพื้นผิว และได้เริ่มทำการขายตรงไปยังพ่อค้าชาวต่างชาติในนางาซากิและโกเบะ

เครื่องเขินคิชูที่ได้พัฒนาขึ้นมาเช่นนี้ได้สูญเสียการคุ้มครองจากแคว้นคิชูเนื่องจากการยกเลิกระบบแคว้นในการปฏิรูปประเทศในสมัยเมจิ และดูเหมือนว่าจะเสื่อมถอยลง แต่การเริ่มการส่งออกอย่างเต็มรูปแบบในปีเมจิที่ 3 (ปี 1870) ทำให้ฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ และในปีเมจิที่ 12 (ปี 1879) ก็ได้มีการนำเอาเทคนิคการแกะสลักลวดลายแล้วโรยผงทองของผลิตภัณฑ์จากจังหวัดอื่นมาปรับใช้ นอกจากนี้แล้ว ในปีเมจิที่ 31 (ปี 1898) ยังได้เชิญนักวาดลวดลายจากเกียวโตมาปรับปรุงภาพลวดลายที่ตกแต่งบนพื้นผิวให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

เมื่อเข้าสู่สมัยโชวะ ได้มีการคิดค้นการเคลือบทาแบบที่ไม่เหมือนใคร เช่น เท็นโดนูริ คิงโกนูริ และซิลค์นูริ ทำให้เครื่องเขินคิชูมีเอกลักษณะที่โดดเด่นขึ้นมาอีกขั้น ในปีโชวะที่ 24 (ปี 1949) ได้รับการกำหนดจากรัฐให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเขินที่สำคัญ และยังคงพัฒนาต่อไปอีกในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดวากายามะ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ของปีโชวะที่ 53 (ปี 1978) ก็ได้รับการกำหนดจากกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม (ปัจจุบันคือกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม) ให้เป็น “เครื่องเขินคิชู” ในฐานะที่เป็น “ศิลปหัตถกรรมดั้งเดิม” เป็นต้น

กระบวนการผลิตเครื่องเขินคิชู

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเรซิน

1.กระบวนการขึ้นรูป
1.กระบวนการขึ้นรูป

นำเรซินที่เป็นวัตถุดิบฉีดใส่เข้าไปในแม่พิมพ์แล้วนำไปขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนและแรงดัน

2.กระบวนการขัด
2.กระบวนการขัด

ขัดพื้นของเรซินเพื่อให้วัสดุในการเคลือบทากับเรซินยึดเกาะกันได้ดีขึ้น

3.กระบวนการเคลือบทา
3.กระบวนการเคลือบทา

ทำให้พื้นผิวสวยงามโดยใช้น้ำยาเคลือบโพลียูรีเทน (วัสดุเคลือบทาที่สอดคล้องกับกฎหมายสุขอนามัยอาหาร)

4.กระบวนการตกแต่ง
4.กระบวนการตกแต่ง

พิมพ์ลวดลายลงไปที่งานซึ่งเคลือบทาเสร็จแล้วอย่างแม่นยำด้วยเครื่องจักร โดยใช้วัสดุเคลือบทาและผงสีทอง

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไม้

1.กระบวนการแปรรูปไม้
1.กระบวนการแปรรูปไม้

วางชิ้นไม้ที่ตัดในขนาดพอเหมาะทิ้งไว้จนแห้งไม่มีน้ำและไม่เปลี่ยนรูป นำไม้มาต่อกันเป็นรูปต่างๆ เช่น จูบาโกะ (กล่องข้าวที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ) และกล่องใส่ที่ฝนหมึก โดยใช้เลื่อยและกบไสไม้

ตากแห้ง
มารุโมโนะ (งานที่มีรูปร่างโค้ง)
อิตะโมโนะ (งานที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม)
สูมิชิอาเกะ (จัดแต่งมุม)
ยูมาเกะ (ดัดโดยแช่น้ำร้อน)
ฮิกิมาเกะ (ดัดโดยเซาะร่อง)
2.กระบวนการทำฐานชิ้นงาน
2.กระบวนการทำฐานชิ้นงาน

นำงานขึ้นรูปที่ยังไม่ได้ปรับแต่งที่ได้จากแปรรูปไม้มาปรับแต่งให้เรียบร้อย

ปรับแต่งผิวไม้
เคลือบทาฐานชิ้นงาน
ขัดฐานชิ้นงาน
3.กระบวนการเคลือบทาชั้นบน
3.กระบวนการเคลือบทาชั้นบน

หลังจากเสร็จกระบวนการเคลือบทาชั้นล่าง เคลือบทาชั้นกลาง และเคลือบทาชั้นบนแล้วจะทำให้ชิ้นงานแข็งแรงทนทานและสวยงาม

เคลือบทาชั้นล่าง
เคลือบทาชั้นกลาง
เคลือบขัดชั้นกลาง
เคลือบทาชั้นบน
4.กระบวนการตกแต่ง
4.กระบวนการตกแต่ง

ใช้ทองหรือแลคเกอร์สีตกแต่งลงไปบนชิ้นงานที่เคลือบทาเสร็จเรียบร้อยแล้วด้วยมือทีละจุดอย่างสวยงาม

ทำลวดลายด้วยการโรยผง (มากิเอะ)
แกะสลักลวดลายแล้วโรยผงทอง
อื่นๆ